วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติมุกดาหาร

   ประวัติจังหวัดมุกดาหาร ตามแรกเริ่มเองก็ไม่ไช่เมืองที่มีความเป็นอยู่ทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานมากนัก  แต่เป็นเมืองหนึ่งที่มีความสำคัญเพราะว่าเป็นเมืองที่มีขนาดใหญ่  มีความสำคัญสมัยรัตนโกสินทร์
                เริ่มมีการบันทึกไว้ว่า  ตอนนั้นเมืองเวียงจันทร์เกิดความวุ่นวาย  คือพระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต  ได้สวรรคต  มีการแย่งชิงการขึ้นครองราช  และพระยาเมืองแสนกระทำการได้สำเร็จ  ทำให้พระมเหสีของพระเจ้ากรุงศรีสัตนคหุตคนก่อนได้อพยพและได้นำโอรส 2 พระองค์ คือเจ้าองค์หล่อ  และเจ้าองค์หน่อ ได้มาอาศัยกันพระครูโพนเสม็ด  และในช่วงนั้นพระครูโพนเสม็ดมีผู้คนนับถือเป็นจำนวนมาก  พระยาเมืองแสนทรายข่าวว่า  พระครูโพนเสม็ด ได้ให้ที่พัดอาศัยโอสรทั้งสอง  และมีกำลังพลเป็นของตัวเอง  เกรงว่าจะเป็นภัยมาถึงตัวเอง  จึงได้ยกทัพไปตี  พระครูโพนเสนม็ดจึงได้รวบรวมพล  พาพระโอสรทั้งสองหนีไป  และให้กระจายกันอยู่ตามที่ต่างๆ  ของภาคอีสาน 
                พระครูเสม็ดได้อพยพลงมาทางตอนล่างของมื่น้ำโขงและได้บูรณะพระธาตุพนม  ต่อมาได้เคลื่นมาที่นครจำบากนาคบุรีศรี  และได้ให้พระหน่อกุมารเป็นกษัตริย์  ถวายนามว่า  เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทวางกรู  และเปลี่ยนชื่อเมืองเป็น  นครจำปาศักดิ์ พ.ศ. 2256  และได้แต่ตั้งเจ้าสุริยวงส์  เป็นเจ้าเมืองโพนสิม  เป็นบริเวณส่วนหนึ่งของมุกดาหาร
                ต่อมาเจ้าสุริยวงษ์ถึงแก้กรรม  เจ้ากนรีจึงได้ครองเมืองหลวงโพนสิม  ตอนที่กรุงศรีอยุธยาเสียกรุง พ.ศ. 2310 หลังจากนั้นได้ย้ายอบอพยพ  มาบริเวณมุกดาหารในปัจจุบัน  โดยการข้ามน้ำโขงมาบริเวณปากห้วยมุกหรือว่าห้วยบางมุก  เนื่องด้วยบริเวณนนั้นมีหอยกาบ  หรือว่าชาวพื้นเมืองเรียกหอยกี  เป็นหอยที่มีมุกจะพบบริเวณน้ำโขงตรงบริเวณนั้นย  โดยประมาณ 1 ร้อยตัวจะมีมุกโผ่ลมาเม็ดหนึ่ง  เจ้ากินรี คิดว่าจะตั้งเมืองอยู่ที่นี้  ซึ่งบริเวณนั้น เพราะว่าเห็นสิ่งปลุกสร้างโอราณ  มีพระพุทธรูปโบราณ  แสดงว่าเป้นเมืองร้างมาก่อน  และเป็นพื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์  นอกจานั้นเจ้ากินรีได้พบต้นตาล 7 ยอด บริเวณริมฝั่งโขง  และในตอนกลางคืนนั้นมีแสดงดวงหนึ่งเปล่งแสงเป้นประกายแวววาว  ออกจากต้นตาลเจ็ดยอดนั้นทุกคืน  จึงคิดว่าเป็นเทพยาดาอยู่ที่บริเวรนั้น 
                นอกจากนั้นบริเวณต้นตาลเจ็ดยอดห่างกันไม่เท่าไหร่  พบพระพุทธรูป 2 องค์ใต้ต้นโพธิ์  มีพระพุทธรูปหล่อด้วยอิญปูนเป็นองค์ใหญ่  ส่วนองค์เล้กเป็นพระพุทธรูปทำด้วยเหล็ก  และได้สร้างวัดขึ้นได้อันเชิญไปประดิษฐอยู่ในวิหาร  แต่ว่าพระพุทธรูปองค์เล็กได้เกิดความอัญเชินมาแล้วกลับไปอยู่ที่ใต้ต้นโพธิ์เหมือนเดิม  เป้นที่หน้าแปลกใจมาก  และได้อัญเนมาหลายครั้งจนพระพทธรูปองค์นั้นค่อยๆ  จมลงไปในดินเรื่อยๆ  ต่อมาจึงต้องทั้งแท่นบูชาไว้ที่นั้น  ต่อมาเมื่อเวลาผ่านไปบริเวณนั้นได้ถูกเซาะจากกระแสน้ำตลิ่งก็พังลง
                สมัยกรุงธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ใด้โปรเกล้าฯ  ในการปราบหัวเมืองต่างๆ  ทั้งเวียงจันทร์และนครจำปาศักดิ์  และได้รวบรวมเมืองให้เป็นปรึกแผ่น  ประราชธานนามให้  เป็นชื่อเมืองมุกดาหาร  และตอนนี้ได้เมืองมุกดาหารได้ขึ้นตรงต่อกรุงเทพ  อาณาเขตเมืองมุกดาหารในตอนนั้นมีขนาดที่ใหญ่  เทียบเท่ากับมลรัฐหนึ่ง  มีพื้นที่ของทั้งสวองฝั้งแม่น้ำโขงไปจนถึงเมืองญวณ  รวมสุวรรณเขตด้วย อยู่ภายใต้ขอบขัณฑสีมาของกรุงเทพมหานคร  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้  ทรงแต่งตั้งให้เจ้าจัทรกินรี  เป็นพระยาจัทรศรีอุปราชามันธาตุราช  ครองเมืองมุกดาหาร  และเป็นเจ้าเมืองคนแรก  โดยมีการปกครองตามแบบธรรเนียมประเพเพณีดั้งเดิมของล้านช้าง  คือมีตำแหน่ง อุปฮาด  ราชวงศ์ ราชบุตร  และผู้ช่วยราชการในการปกครองเมือง  มีกรมการเมืองในการว่าราชการงานต่างๆ  เช่น
                - เมืองแสนว่าราชการฝ่ายเหนือ
                - เมืองจันทรว่าราชการฝ่ายใต้
                - เมืองกลางว่าราชการหนังสือ
                - เมืองขวา  เมืองซ้าย คุมกองทัพ
                - ชาเนตร  เก็บรักษาหนังสือ
                เจ้าเมืองและกรมกรรการเมืองบางตำแหน่ง เป็นทั้งแม่ทัพ  เป็นตำรวจ  เป็นทั้งผู้พิพากษา  ไม่มีเงินเดือน  จึงต้องเก็ยส่วยอากรเข้าคลังเมือง  ส่วหนึ่งจะเก็บไปที่กรุงเทพมหานคร  ส่วนที่เหลือจะแบ่งกับตามตำแหน่ง  เมืองมุกดาหารได้เก็ยส่วยจากชายฉกรรจ์คนล่ะ 2 บาทต่อปี  จากการลักเลข(การสำรวจสำมะโนครัว) พ.ศ. 2502 มีชายฉกรรจ์ถึง 8 พันคนมีมากกว่า มืองอุบลและขอนแก่น  หากไม่มีส่วนก็ต้องหาสิ่งของพื้นบ้านหรือว่าของป่า  เช่น  ฝ่าย  งาช้าง  นอแรด  หนังสัตว์  หมากเหน่ง  เขากวาง 
                การเก็บภาษีก็เก็บสมัยนั้น  เช่น  ยาสูบ  มี 100 ส่วนชัก 10ส่วน  เกลือมี 100 ส่วนชัก 10 ส่วน   ปราบึก  มี 24 ชัก 8  เสียภาษีฝิ่น 2 ตำลึง 
                ในสมัย  รัชกาลที่ 3 พ.ศ. 2369  เมืองเจ้าอนุวงศ์แห่งกรุงเวียงจันทร์ยกทัพไปกวดตอนผู้คนจนถึงเมืองนครราชสีมา  เพื่อกวดต้อนไปยังเมืองเวียงจันทร์  ตอนนั้นเองกองทัพจากกรุงเทพมหานครได้มาปราบ  และได้เกณฑ์เมืองหนองคาย  นครพนม  มุกดาหาร  เขมราฐ  ยโสธร  อุบลราชธานี  ข้ามโขงไปกวดต้อนผู้คน  คือพวกผูไทย  ข่า  กะโซ่  กะเลิง  แสก  ย้อ  จากเมืองวัง  เมืองเซโปน  เมืองพิน  เมืองนอง  จดจนเขตแดนญวณให้มาตั้งบ้านเมืองอยู่ในฝั่งแม่น้ำโขงตะวันตก  เข้ามาอยู่ในท้องที่เมืองมุกดาหาร  นครพนม  สกลนคร  จึงทำให้เมืองมุกดาหารมีกลุมชาติพันธุ์   หลายเผ่าพันธุ์มาจนถึงปัจจุบัน
                สำหรับอาณาเขตสมัยนั้น ทิศเหนือ ติดกับเขตเมืองนครพนมเขตแดนที่หน้าองค์พระธาตุพนม  มีเมืองขึ้นคือ  เมืองหนองสูง  เมืองพาลุกรกรภูมิ  ทางผั่งโขงตะวันออก มีเมืองวังอ่างคำ  เมืองโซโปน  เมืองพิน  เมืองนอง  จนจดเขตเวียดนาม
                ในสมัยรัชการที่ 4  ได้ทรางโปรดกล้าฯ  สถปณาให้เจ้าหนู  โอรสเจ้าอุปราช(ติสละ) จากราชวงศ์เวียงจันทร์ซึ่งรับราชการอยู่กรุงเทพ  เป็น เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ดำรงรัฐสีมามุกดาหาราธิบดี  เป็นเจ้าเมืองมุกดาหาร (พ.ศ. 2408 -2412)  ถวายราชบรรณาการต้นไม้เงินต้นไม้ทองแก่กรุงเทพมหานคร   เป็นประเพณีประจำทุกปีเปรียบเสมือนประเทศราช
                ต่อมากล่างถึงวัดศาสนาคริสต์ริมฝั่งโขงในเขตเมืองมุกดาหาร  องค์การศาสนาคริวต์โดยบาตรหลวงโปรดมจากกรุงเทพ  ได้ส่งบาตรหลวงซาเวียร์เคโก้  มาเผยแพร่ตามหัวเมืองในภาคอีสาน  โดยเฉพาะหัวเมืองสองฝั่งโขงเป็นครั้งแรก  ได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์เป็นครั้งที่ อุกบลราชธานีเมือปี พ.ศ. 2424  ในสมัชราชที่ 5 และต่อมาได้ตั้งวัดศาสนาคริสต์ ในพ.ศ. 2428 ที่บ้านสองคอน  ริมฝั่งโขงในเขตเมืองมุกดาหาร
                บรรพบุรุษของเมืองมุกดาหารมีการออกศึกและป้องกันอาณาเขตในหลายครั้ง  เมือง พ.ศ. 2429 เมืองญวณได้ผ่ายแพ้กับฝรั่งเศษ และได้ตกเป็นอาณานิคมของฝั่งเศษ  พระเจ้าแผ่นดินญวณ  คือเจ้าฟ้าฟาหามงิเวียนเทียน  ซึ่งยังทรงพระเยาว์พร้อมด้วยผู้สำเร็จราชการและไพร่พลอีกเป็นจำนวนมากได้อพยพหลบหนีฝรั่งเศษเข้ามาในเขตอาณาจักรไทยทางเมืองลาวกาว(ลาวบ่าว)  เข้ามาทางด่านตึงยะเหลา  เมืองเซโปนอันเป็นเขตแดนมุกดาหาร  พระยามหาอำมาตยธิบดี(หรุ่น  ศรีเพ็ญ)  ข้าหลวงใหญ่และแม่ทัพไทย  ได้ยกกำลังขึ้นมาตั้งอยู่ ณ เขมราฐแล้วสั่งให้กองทัพเมืองเขมราฐ  เมืองมุกดาหาร  เมืองนครพนท  เมืองสกลนคร  ยกทัพไปสกัดกั้นมิให้พระเจ้าแผ่นดินญวณและไพล่พลล่วงล้ำเข้ามา  แต่ยังมีญวณบางกลุ่มที่ข้ามโขงมาสวามิถักดิ์และตั้งเมืองอยู่ในเขตแดนเมืองมุกดาหาร  นครพนม  สกลนคร เป็นครั้งแรก และอีกครั้งหนึ่ง  ใองมุกดาหารได้เกณฑ์ไพร่พล ไปสู้รบในกรณีปราบฮ่อที่ทุ้งเชียงคำ(ทุ่งไหหิน) ทางฝั่งโขงตะวันออก เมือง พ.ศ. 2428  เมืองมุกดาหารได้เกณฑ์  จำนวนคนไป 249 คน   ช้าง 4 เชือก  ม้า 10 ตัว  โคต่าง 80 ตัว  ปืนคาบศิลา  285 กระบอก  ดินดำ 20 ชั่ง  กระสุน 1,300 ลูก  เรือ 20 ลำ  ข้าวเปลือก 1,500 ถัง  หลังจากที่ปราบได้สำเร็จ  ไพร่พลของมุกดาหาร  ได้ถูกกระสุนตาย 10 คน  สูญหาย 13 คน  เสือกัดตาย 4 คน  ตายเจ็บไข้ 72  รวม 99 คน  ช้าง4 เชือก  เหลืออยู่ครบ  มา 10ตัว ตาย 2 ตัว  โคต่างตาย 50 ตัว 
                แบ่งการปกครองภาคอีสานเป็นสองส่วน  และได้แต่งตั้ง  
พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหมื่นประจักษ์ศิลปาคมให้ปกครองและตั้งกองทัพเมืองมณทลลาวพวน  มีกองทัพบัญชาอยู่ที่หนองคาย   มีอำนาจเมืองหนองคาย  หล่มศักดิ์  ไชยบุรี  ท่าอุเทน  นครพนม  สกลนคร  หนองหาน  กมุหาลัย  โพนพิสัย  ขอนแก่นและเมืองมุกดาหาร  รวมทั้งในเมืองฝั่งโขงตะวันออก  คือเมือง  เชียงขวาง  คำเกิด  คำม่วน  บริคัณฑนิคม  ในส่วนของอีสานใต้  โปรเกล้าฯ  ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ  กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงต่างพระองค์สำเร็จราชการหัวเมือง  ลาวกาว  ตั้งกองบัญชาการอยู่ที่เมืองอุบลราชธานี
                ในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2436  รศ. 112  ฝรั่งเศษได้บุกยึดดินแดนนฝั่งโขงตะวันออกซึ่งตอนนั้นเป็นเขตแห่งราชอาณาจักรไทย  โดยอ้างว่าดินแดนฝั่งดขงตะวันออกเป็นดินแดนนของญวณ  ได้ขับไล่  ไพล่พลเมืองมุกดาหารที่ด่านทาง  เมืองเซโปน เมืองวัง  ให้ออกมาพ้นฝั่งโขงตะวันออก  ตอนนั้นเมืองมุกดาหารจึงต้องเสียดินแดน 3 ใน 4 ส่วน  ฝั่งโขงตะวันออก ให้กับฝรั่งเศส  เหลือแต่เพียงฝั่งตะวันตก
                เกิดตำรวจภูธรขึ้นเป็นครั้งแรก  เมื่งราชอาณาจักรไทยต้องเสียดินแดนทางฝั่งตะวันออกให้แก่ฝั่งเศสแล้ว  มีสัญญาว่าห้ามมิให้ตั้งก่องทัพหรือว่าเขตของทหารใกล้กว่า 25 กิโลเมตรจากทางฝั่งริมโขง  ทางฝ่ายไทยเลยมีการตั้งตำรวจภูธรขึ้น  สามารถที่จะถออาวุธเช่นเดียวกับทหาร  แตกต่างไปจากตำรวจนครบาลซึ่งไม่ได้ถืออาวุธ  ประจำการตามหัวเมืองริมฝั่งโขง  เช่น  หนองคาย  สกลนคร  มุกดาหาร และนครพนม 
                เมืองมุกดาหารในอดีตนั้น  มีเจ้าเมืองทั้งหมด 7 ท่าน  ดังนี้
                1. พระยาจัทรศรีราชอุปราชามัมธาตุ (เจ้าจันทรกินรี) พ.ศ. 2313 – 2347
                2. พระยาจัทรสุริยวงษ์ (กิ่ง)
                3. 
พระยาจัทรสุริยวงษ์ (พรหม)
                4.เจ้าจันทรเทพสุริยวงศ์ดำรงรัฐสมามุกดาหารราธิบดี (เจ้าหนู)
                5. 
พระยาจัทรสุริยวงษ์ (คำ)
                6. 
พระยาจัทรสุริยวงษ์ (บุญเฮ้า)
                7. พระยาศศิวงษ์ประวัติ (เมฆ จัทรสาขา)
                ต่มมาได้มีการปฏิรูปการปกครองในสมัยรัชการที่ 5 ได้ยกเลิกธรรมเนียมประเพณีของการปกครองแบบดังเดิม  เปลี่ยนมาเป็นการปกครองเป็นผู้ว่าราชการจังหวัก  และมีเงินเดือน  และได้ทรงโปรดเกล้าฯ  แต่งตั้งให้ราชวงศ์ (แสง) เป็น พระจัทรเทพสุริยวงษา  เป็นผู้ว่าราชการเมืองมุกดาหาร  คนแรกและคนสุดท้าย พ.ศ. 2442 – 2449  หลังจากนั้นได้เปลี่ยนแปลงการปกครองในรูปแบบต่างๆ  หลายครั้ง  จนถูกยุบเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดนครพนม  เมื่อ พ.ศ. 2525 ได้ให้อำเภอมุกดาหาร  เป็นจังหวัดมุกดาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น