วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ปัญหาโรคอ้วน

โรคอ้วน
โรคอ้วนเป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันในร่างกายมากเกิน เนื่องมาจากได้รับพลังงาน จากอาหารมากเกินกว่าที่ใช้ พลังงานส่วนเกินจะถูกเก็บสะสมไว้ในรูปของไขมัน จึงทำให้ร่างกาย มีนํ้าหนักมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ อาทิ โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคข้อเสื่อม รวมถึงโรคมะเร็ง นอกจากนี้ผู้มีปัญหาโรคอ้วนยังประสบ ปัญหาทางด้านจิต สังคม และหน้าที่การงานร่วมด้วย สร้างปัญหาทางเศรษฐกิจให้แก่ประเทศ ได้อีกทางหนึ่ง
ปัจจุบันแนวโน้มการบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนไป มีการยอมรับวัฒนธรรมการบริโภคอาหารตะวันตกมากขึ้น การบริโภคอาหารของคนไทยเปลี่ยนแปลงไปเป็นแบบสังคมเมืองมากขึ้น โดยเน้นความสะดวกสบายและรวดเร็วเป็นหลัก มีการรับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น นิยมรับประทานอาหารปรุงสำเร็จรูป อาหารเร่งด่วนหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะพฤติกรรมการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ดจากตะวันตก ซึ่งมีระดับของพลังงานที่สูง อีกทั้งยังขาดการออกกำลังกายที่เพียงพอ ซึ่งมีส่วนทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย และนำมาซึ่งสาเหตุ การเพิ่มจำนวนของโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนเด็ก และวัยรุ่นที่เป็นโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น
คนไทยกำลังประสบปัญหาทางสุขภาพสำคัญที่เรียกว่าโรคอ้วนลงพุง หรือเมตาโบลิกซินโดรม (metabolic syndrome) ปัจจัยทางด้านรูปแบบการกินอาหาร หรือบริโภคนิสัยที่ ไม่เหมาะสม และการไม่ออกกำลังกาย ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมและวิถีการดำเนินชีวิตที่เป็น สาเหตุหลักของการเกิดโรคอ้วนลงพุง พฤติกรรมการกินอาหารของคนไทยที่เปลี่ยนไป กินอาหารที่มีไขมัน โปรตีน และน้ำตาลสูง แต่มีใยอาหารต่ำ มีรสเค็มจัด และเป็นอาหารที่ผ่านขบวนการเป็นส่วนมาก ประกอบกับการบริโภคในปริมาณที่มาก และไม่ได้ออกกำลังกาย ทำให้มีผลกระทบต่อภาวะสุขภาพจิตในเชิงลบ นำไปสู่การเจ็บป่วยและการตายด้วยโรคอ้วน โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศในขณะนี้
ทิศทางการป้องกันโรคอ้วนลงพุง หรือ เมตาโบลิกซินโดรม ในปัจจุบันได้หันมาให้ความสำคัญของการปรับเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต ที่รวมถึงการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย เป็นหลัก คำแนะนำต่างๆ จะเน้นที่รูปแบบการกินอาหาร โดยให้ความสำคัญของรูปแบบการกินอาหารที่มาจากพืชเป็นหลัก เช่น การบริโภคผัก ผลไม้ และธัญชาติที่ขัดสีแต่น้อย เป็นประจำเพื่อให้มีโอกาสได้รับใยอาหารในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อป้องกันการเกิดโรคดังกล่าว เน้นการบริโภคเนี้อสัตว์ในปริมาณน้อย เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่ได้จากปลา ส่วนไขมันที่แนะนำจะเน้นที่คุณภาพไขมัน โดยแนะนำให้บริโภคอาหารที่เป็นแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวทั้งชนิดที่เป็น mono – และ polyunsaturated fat ในปริมาณที่เหมาะสม กินผักมากขึ้น ลดอาหารหวาน มัน เค็ม และกิน อาหารให้หลากหลาย
1. เป้าหมายของการลด,นํ้าหนัก การป้องกันการเพิ่มและการรักษานํ้าหนักตัว
ปกติการตั้งเป้าหมายของการลดนํ้าหนักคือ 10% ของนํ้าหนักตัว มีความเป็นไปได้ที่ทำอย่างจริงจังและต่อเนื่อง อัตราการลดนํ้าหนักไม่ควรเกิน 0.5 กิโลกรัม/สัปดาห์ (ปริมาณ พลังงานในการเผาผลาญไขมัน 7700 กิโลแคลอรี่/ก.ก.) ดังนั้นในเวลา 6 เดือน การเผาผลาญ ไขมันจะทำให้นํ้าหนักลด 2-3 กิโลกรัม หลังจากนั้นมักจะไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลงนํ้าหนักมากนัก หลังจากมีการใช้พลังงานของร่างกายลดลงเมื่อน้ำหนักลด
การที่จะลดนํ้าหนัก 10% ในช่วง 6 เดือน มีข้อแนะนำว่า
คนที่นํ้าหนักเกิน ควรลด 300-500 กิโลแคลอรี/วัน
คนที่อ้วนควรลด 500-1000 กิโลแคลอรี/วัน
การลดน้ำหนักทำได้ในหลายลักษณะ คือลดการบริโภคอาหาร เพิ่มการใช้พลังงาน ด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายและออกกำลังกาย รวมทั้งการปรับพฤติกรรม
2.  ลดการบริโภคอาหาร
การลดปริมาณไขมันและลดปริมาณพลังงานที่ได้รับต่อวัน การบริโภคอาหารที่มี Isocaloric diet) โดยการลดไขมันและทดแทนด้วยคาร์โบไฮเดรต ซึ่งให้ปริมาณพลังงานเท่าเดิมนั้น ช่วยลดปริมาณไขมันที่ร่างกายได้รับ แต่ไม่ได้ช่วยลดน้ำหนัก เนื่องจาก ปริมาณพลังงานยังเท่าเดิมดังนั้นการปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารที่บริโภคนั้นยังไม่พอควรลดการบริโภคอาหารลงด้วย
3.  เพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย
การลดนั้าหนัก ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการลดปริมาณพลังงานจากอาหารที่ได้รับ ร่วมกับการเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย จะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำหนักที่ลดนั้นเพิ่มกลับมาอีก เเละยังช่วยระบบหัวใจหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งดีกว่าการลดการบริโภค อาหารเพียงอย่างเดียว การเคลื่อนไหวและออกกำลังกายควรเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปทำประจำและสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายจะทำต่อเนื่องกัน หรือจะแบ่งเป็นช่วงสั้น ซึ่งเมื่อนับรวมกันแล้ว ได้ผลลัพธ์ไม่ต่างกัน (หรือที่เรียกกันว่าออกกำลังกายสะสม) ซึ่งงานวิจัยโดยอาสาสมัครที่ออกกำลังกายวันละ 30 นาที 3วัน/สัปดาห์เทียบกับอาสาสมัครที่ออกกำลังกาย 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาทีรวมเป็น 30 นาทีต่อวัน 3 วัน/สัปดาห์ ให้ผลไม่ต่างกัน รวมทั้งการออกกำลังกาย แบบต้านแรง ผลที่ได้เมื่อเทียบการฝึก 1 เซ็ท กับ 3 เซ็ท พบว่าเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อและ เป็นประโยชน์ต่อสมรรถภาพร่างกาย กล่าวโดยสรุปการออกกำลังกายแบบสะสม (accumulated physical activity) ช่วยได้เช่นกัน และยังมีความเป็นไปได้ในการที่จะแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มีเวลา ซึ่งสามารถแบ่งทำเป็นช่วงสั้นๆ
4.  ปรับพฤติกรรม
การปรับพฤติกรรมจะเกิดขึ้นเมื่อคนๆ นั้นมีประสบการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลง พฤติกรรมทำให้เห็นผลที่ดีขึ้น (self experience approach) ทำให้มีความมั่นใจว่าตัวเองทำได้ และเมื่อได้รับความชื่นชมจากผู้คนและสังคมรอบด้าน การเป็นแบบอย่างให้ผู้อื่น รวมทั้งการตอกยํ้า (reinforcement) และการให้รางวัล (reward) จะสร้างพลังแห่งความเชื่อมั่น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำเป็นต้องเป็นการดูแลตนเอง (self monitoring) ทั้งเรื่องการดำเนินชีวิต การบริโภคอาหาร การเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย ตลอดจนการลดปัจจัยเสี่ยงต่างๆ

อาหารตามกระแส ะ อาหารจานด่วน (fast food)
ในสังคมอันเร่งรีบและความเป็นโลกาภิวัตน์ ทำให้วัฒนธรรมการบริโภคอาหารมีความ คล้ายคลึงกันแทบจะทั่วโลก เราจะเห็นร้านอาหารจานด่วนจากประเทศตะวันตก หรือแม้แต่แถบเอเชียเองที่มีสาขาทั่วไปในประเทศไทย หรือแม้แต่อาหารจานเดียวของไทยก็เป็นอาหารจานด่วนมากมาย
ในฐานะผู้บริโภคจำเป็นต้องมีความรู้และความเข้าใจในการเลือกอาหารบริโภค แน่นอน ที่การเลือกอาหารมีปัจจัยหลายอย่าง นอกเหนือจากคุณค่าอาหารว่าคุ้มกับเงินที่จ่าย ยังรวมถึง ความสะดวก รสชาติ การส่งเสริมการขายด้วยการลดแลกแจกแถม การตลาดและการประชาสัมพันธ์
จากการศึกษาวิจัยของสถาบันวิจัยโภชนาการที่สอบถามถึงการเลือกอาหารของเด็ก นักเรียนชาย/ หญิง อายุ 7-12 ปี ในโรงเรียนระดับกลางของกรุงเทพมหานคร พบความแตกต่าง ของเด็กหญิง/เด็กชายในการเลือกอาหาร เด็กชาย 60% ชอบขนมกรุบกรอบเป็นถุงมากกว่าเด็กหญิง (48%)19% ของเด็กชายจะชอบขนมปังและเบเกอรี่ ขณที่เด็กหญิงชอบขนมประเภทนี้ถึง (34%)18% ของเด็กชายชอบขนมหวาน ขณะที่เด็กหญิงให้ความสำคัญกับผลไม้ถึง 23%
การเลือกอาหารจะไม่มีความแตกต่างของหญิง/ชาย โดยที่ 22% เลือกอาหารปลอดภัย 21%อาหารที่มีประโยชน์กับสุขภาพ 16% เลือกรสขาติที่ดี และส่วนที่เหลือจะเป็นเรื่องของราคา 3% ความสะดวก 2% และความชอบ 5%
อย่างไรก็ดีการคำนึงถึงคุณค่าและประโยชน์ของอาหาร จำเป็นต้องมีข้อมูลโภชนาการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้ตัดสินใจ แต่เนื่องจากอาหารไทยมักจะไม่มีสัดส่วนที่แน่นอน ขึ้นกับความพึงพอใจ ในรสชาติที่ชอบ ข้อมูลคุณค่าอาหารจึงขึ้นกับชนิด การปรุง รวมทั้งปริมาณอาหาร
อาหารจานด่วนของต่างชาติมักจะมีสัดส่วนที่แน่นอน ซี่งสะดวกในการได้ข้อมูลคุณค่า อย่างไรก็ดีอาหารจานด่วนที่มาจากทางตะวันตก นอกจากจะมีโปรตีนสูงมักไขมันสูงด้วย รวมทั้งการมีปริมาณโซเดียมสูง ดังนั้นปริมาณพลังงานของอาหาร (energy ensity) จึงมักสูงตามไปด้วย ดังแสดงในตารางที่ 5 แสดงตัวอย่างคุณค่าอาหารจานเดียว ของไทย เทียบกับอาหารจานด่วนของทางตะวันตก

ตารางที่ 5 ตารางแสดงคุณค่าอาหารของอาหารจานด่วนและอาหารจานเดียวของไทย
รายชื่ออาหาร
นํ้าหนัก (กรัม)
พลังงาน (กิโลแคลอรี)
โปรตีน
(กรัม)
ไขมัน
(กรัม)
พลังงานจาก ไขมัน (%)
ข้าวยำปักษ์ใต้1892487.26.524
ข้าวผัดกะเพราไก่29355416.321.234
ข้าวมันไก่30059619.424.736
เสันหมี่ลูกชิ้นเนื้อวัว44722612.24.016
หมี่กะทิ27246610.718.135
ขนมจีนนํ้ายา43533212.99.626
แฮมเบอร์เกอร์เนื้อ20057024.635.055
แซนวิชไก่23068826.04052
มันทอด682203.011.547
พิซซ่า12030613.011.534

ปัญหาของการเลือกอาหารของคนในสังคมเมืองนั้นมักจะเลือกตามความสะดวก หาง่าย ประหยัด และตามกระแสสังคม การเลือกอาหารจานด่วนของคนทางตะวันตกมักจะมีสัดส่วน ไขมันค่อนข้างสูง ซึ่งปกติการแนะนำอาหารที่ดีไม่ควรมีสัดส่วนที่มาจากไขมันเกิน 30% ของพลังงาน ทั้งหมด (ซึ่งไม่ควรทานประจำ) การเลือกอาหารดังกล่าวควรควบคู่ไปกับการเพิ่มผัก / ผลไม้ และ ลดอาหารที่มีไขมันสูงในมื้อถัดๆ ไป ก็พอช่วยได้บ้าง เพราะการได้รับอาหารพลังงานสูงและพลังงานส่วนใหญ่มาจากไขมัน ทำให้ร่างกายสร้างไขมันเก็บสะสมในร่างกาย ถ้าสมดุลพลังงาน การใช้มากกว่าการได้รับจะทำให้เกิดโรคอ้วนได้ง่าย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น