กรุงเทพมหานคร เดิมเรียกกันว่า "เมืองบางกอก" ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังทางคุ้งแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นแนวคูเมืองทางด้านตะวันตกเฉียงใต้
เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ คงมีพื้นที่เฉพาะเขตกำแพงเมืองเท่านั้น คือ กำแพงเมืองยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ด้านตะวันออก เลียบตามแนวคูเมืองที่ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางลำพู มาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านทิศใต้ใกล้สะพานพุทธยอดฟ้าฯ เรียกว่า คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่างด้านตะวันตก ใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองแต่มิได้สร้างกำแพงเมืองเหมือนด้านตะวันออก รายรอบกำแพงเมืองและริมแม่น้ำเจ้าพระยามีป้อมอยู่ 14 ป้อม มีประตูเมืองขนาดใหญ่ 16 ประตู ประตูเมืองขนาดเล็ก ที่เรียกว่าช่องกุดอีก 47 ประตู เนื้อที่ในครั้งนั้นมีเพียง 2,163 ไร่ พื้นที่นอกกำแพงเป็นทุ่งนาปลูกข้าว
อาณาเขตของกรุงเทพฯ ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีคือแนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลองตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานปิ่นเกล้า เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตร.กม.
บริเวณที่สร้างพระราชวังนั้น เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชเศรษฐีและชาวจีน ซึ่งได้โปรดให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง และทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่แทนกรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ทรงพระราชทานนามพระนครนี้ว่า
"กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ"
เมื่อแรกสร้างกรุงเทพฯ คงมีพื้นที่เฉพาะเขตกำแพงเมืองเท่านั้น คือ กำแพงเมืองยาวประมาณ 7 กิโลเมตร ด้านตะวันออก เลียบตามแนวคูเมืองที่ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาที่บางลำพู มาออกแม่น้ำเจ้าพระยา ทางด้านทิศใต้ใกล้สะพานพุทธยอดฟ้าฯ เรียกว่า คลองบางลำพู และคลองโอ่งอ่างด้านตะวันตก ใช้แม่น้ำเจ้าพระยาเป็นคูเมืองแต่มิได้สร้างกำแพงเมืองเหมือนด้านตะวันออก รายรอบกำแพงเมืองและริมแม่น้ำเจ้าพระยามีป้อมอยู่ 14 ป้อม มีประตูเมืองขนาดใหญ่ 16 ประตู ประตูเมืองขนาดเล็ก ที่เรียกว่าช่องกุดอีก 47 ประตู เนื้อที่ในครั้งนั้นมีเพียง 2,163 ไร่ พื้นที่นอกกำแพงเป็นทุ่งนาปลูกข้าว
อาณาเขตของกรุงเทพฯ ในขั้นแรกถือเอาแนวคูเมืองเดิมฝั่งตะวันออกของกรุงธนบุรีคือแนวคลองหลอด ตั้งแต่ปากคลองตลาดจนออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณสะพานปิ่นเกล้า เป็นบริเวณเกาะรัตนโกสินทร์ มีพื้นที่ประมาณ 1.8 ตร.กม.
บริเวณที่สร้างพระราชวังนั้น เดิมเป็นที่อยู่อาศัยของพระยาราชเศรษฐีและชาวจีน ซึ่งได้โปรดให้ย้ายไปอยู่ที่สำเพ็ง ในการก่อสร้างพระราชวังโปรดให้พระยาธรรมาธิบดี กับพระยาวิจิตรนาวีเป็นแม่กองคุมการก่อสร้าง และทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างเมืองบางกอกขึ้นเป็นเมืองหลวงใหม่แทนกรุงธนบุรี โดยสืบทอดศิลปวัฒนธรรมจากกรุงศรีอยุธยา ทรงทำพิธียกเสาหลักเมืองเมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 แล้วทรงเสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 ทรงพระราชทานนามพระนครนี้ว่า
"กรุงเทพมหานคร บวรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยามหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์ มหาสถานอมรพิมาน อวตารสถิต สักกะทัตติยะ วิษณุกรรมประสิทธิ"
เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนนามพระนครจาก "บวรรัตนโกสินทร์" เป็น "อมรรัตนโกสินทร์" ต่อมาเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็น "นครหลวงกรุงเทพธนบุรี" และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็น "กรุงเทพมหานคร" แต่นิยมเรียกกันว่า "กรุงเทพฯ"
กรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคม ขนส่ง การเงิน การธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร ฯลฯ แบ่งการปกครองเป็น 50 เขต โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,562.2 ตร.กม.
กรุงเทพฯ มีพัฒนาการมาจากย่านเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ซึ่งมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นอยุธยาแล้วก่อนที่จะมีการขุดคลองลัด ตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปถึงวัดอรุณราชวรารามในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เส้นทางเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลอ้อมขดเคี้ยวกินพื้นที่เข้าไปในฝั่งธนบุรีหรือที่ปัจจุบันกลายเป็นคลองชื่อ "บางกอกน้อย" , "บางกอกใหญ่"
ในสมัยอยุธยาแม้แม่น้ำเจ้าพระยาจะขดเคี้ยว แต่ก็เป็นเส้นทางเดินเรือในการติดต่อกับโลกภายนอก ทำให้เส้นทางสัญจรสายนี้คับคั่งไปด้วยเรือสินค้าเข้าออก และก่อให้เกิดชุมชนริมแม่น้ำขึ้น สุจิตต์ วงษ์เทศ ค้นพบว่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่ามีชุมชนเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว นั่นคือชุมชนชาวสวนย่าน "บางเชือกหนัง" , "บางระมาด" , "บางจาก" ชื่อย่านเหล่านี้ได้ปรากฏในโคลงกำสรวลสมุทร ซึ่งเป็นวรรณกรรมสมัยต้นอยุธยา และชื่อย่านเหล่านี้ยังคงอยู่มาจนกระทั่งปัจจุบัน
ชุมชนริมน้ำเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อมีการขุดคลองลัดตัดตรงในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช เพื่อย่นระยะทางไม่ต้องเดินทางอ้อมไกลอีกต่อไปการสัญจรหลักที่ใช้ขึ้นล่องระหว่างกรุงศรีอยุธยากับทะเลจึงหันมาใช้เส้นทางสายใหม่ พร้อมๆกับการขยายตัวของชุมชนมายังริมแม่น้ำสายใหม่ซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นในชื่อย่าน "บางกอก" และพัฒนาต่อมากลายเป็น "เมืองธนบุรี" เมืองการค้า การคมนาคมแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกและสมเด็จพระเจ้าตากสินได้กอบกู้บ้านเมืองขึ้นแล้วทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ ซึ่งเป็นเมืองอกแตก เพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง ตั้งพระราชวังอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนผังเมืองเสียใหม่ด้วยการย้ายมาสร้างเมืองทางฝั่งตะวันออกเพียงฝั่งเดียวโดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออกพร้อมกับขยายกำแพงเมือง และขุดคูเมืองใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกหรือที่ปัจจุบันเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและชุมชนชาวสวนเช่นเดิม "ราชธานีแห่งใหม่ได้พัฒนาและขยายขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งกลายเป็นกรุงเทพมหานครในทุกวันนี้" ที่มา: BKK อินไซด์
กรุงเทพมหานครในปัจจุบันเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคม ขนส่ง การเงิน การธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร ฯลฯ แบ่งการปกครองเป็น 50 เขต โดยมีพื้นที่ทั้งหมด 1,562.2 ตร.กม.
กรุงเทพฯ มีพัฒนาการมาจากย่านเล็กๆ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่า ซึ่งมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยต้นอยุธยาแล้วก่อนที่จะมีการขุดคลองลัด ตั้งแต่หน้ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปถึงวัดอรุณราชวรารามในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราชแห่งกรุงศรีอยุธยา เส้นทางเดิมของแม่น้ำเจ้าพระยาได้ไหลอ้อมขดเคี้ยวกินพื้นที่เข้าไปในฝั่งธนบุรีหรือที่ปัจจุบันกลายเป็นคลองชื่อ "บางกอกน้อย" , "บางกอกใหญ่"
ในสมัยอยุธยาแม้แม่น้ำเจ้าพระยาจะขดเคี้ยว แต่ก็เป็นเส้นทางเดินเรือในการติดต่อกับโลกภายนอก ทำให้เส้นทางสัญจรสายนี้คับคั่งไปด้วยเรือสินค้าเข้าออก และก่อให้เกิดชุมชนริมแม่น้ำขึ้น สุจิตต์ วงษ์เทศ ค้นพบว่าริมแม่น้ำเจ้าพระยาสายเก่ามีชุมชนเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นแล้ว นั่นคือชุมชนชาวสวนย่าน "บางเชือกหนัง" , "บางระมาด" , "บางจาก" ชื่อย่านเหล่านี้ได้ปรากฏในโคลงกำสรวลสมุทร ซึ่งเป็นวรรณกรรมสมัยต้นอยุธยา และชื่อย่านเหล่านี้ยังคงอยู่มาจนกระทั่งปัจจุบัน
ชุมชนริมน้ำเหล่านี้ได้ขยายตัวขึ้นตามลำดับ จนกระทั่งเมื่อมีการขุดคลองลัดตัดตรงในสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช เพื่อย่นระยะทางไม่ต้องเดินทางอ้อมไกลอีกต่อไปการสัญจรหลักที่ใช้ขึ้นล่องระหว่างกรุงศรีอยุธยากับทะเลจึงหันมาใช้เส้นทางสายใหม่ พร้อมๆกับการขยายตัวของชุมชนมายังริมแม่น้ำสายใหม่ซึ่งต่อมาพัฒนาขึ้นในชื่อย่าน "บางกอก" และพัฒนาต่อมากลายเป็น "เมืองธนบุรี" เมืองการค้า การคมนาคมแห่งหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา
หลังจากกรุงศรีอยุธยาแตกและสมเด็จพระเจ้าตากสินได้กอบกู้บ้านเมืองขึ้นแล้วทรงเลือกเมืองธนบุรีเป็นราชธานีแห่งใหม่ ซึ่งเป็นเมืองอกแตก เพราะมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางเมือง ตั้งพระราชวังอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ แต่ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้ปรับเปลี่ยนผังเมืองเสียใหม่ด้วยการย้ายมาสร้างเมืองทางฝั่งตะวันออกเพียงฝั่งเดียวโดยใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งของเมืองธนบุรีฝั่งตะวันออกพร้อมกับขยายกำแพงเมือง และขุดคูเมืองใหม่ให้ใหญ่ขึ้น ส่วนพื้นที่ฝั่งตะวันตกหรือที่ปัจจุบันเรียกว่า "ฝั่งธนบุรี" ก็ยังเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยและชุมชนชาวสวนเช่นเดิม "ราชธานีแห่งใหม่ได้พัฒนาและขยายขึ้นเป็นลำดับจนกระทั่งกลายเป็นกรุงเทพมหานครในทุกวันนี้" ที่มา: BKK อินไซด์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น