วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประวัติสกลนคร

สกลนคร นครแห่งการแสวงหา ได้ชื่อว่าเป็นเมืองพุทธศาสน์ พระธาตุ 5 แห่ง แหล่งอารยธรรม 3,000 ปี ตามตำนานเล่าว่า เมื่อสมัย พุทธศตวรรษที่ 16 เมืองหนองหารหลวง ในอดีต หรือสกลนครในปัจจุบันนั้น สร้างขึ้น ในยุคที่ขอมมีอำนาจในดินแดนนี้ โดยขุนขอม ราชบุตรเจ้าเมืองอินทรปัฐนคร ผู้ซึ่งอพยพครอบครัว และบ่าวไพร่ชาว เขมรมาสร้างเมืองใหม่ที่ ริมหนองหารหลวง มีเจ้าปกครองเรื่อยมา จนถึงสมัยพระยาสุวรรณภิงคาระ เวลานั้นเกิดฝนแล้ง ข้าวยากหมากแพง เจ้าผู้ครองนครจึงต้องพาราษฎรอพยพกลับเขมร หนองหารจึงกลายเป็น เมืองร้างอยู่ระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่ออิทธิพลขอมเสื่อมลง เมืองหนองหารหลวงตกไปอยู่ ในความปกครองของอาณาจักรล้านช้าง เรียกชื่อว่า "เมืองเชียงใหม่หนองหารซึ่งแสดงว่า เมืองหนองหาร มีความสัมพันธ์กับเวียงจันทน์เสมอมา ก่อนที่ อิทธิพลรัตนโกสินทร์ จะเข้าไปถึง สกลนครเมื่อประมาณ พ.. 2321-2322
ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ปรากฎเจ้าเมืองชื่อพระบรมราชา (มั่งเจ้าเมืองสกลนครในขณะนั้นไป เข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งเป็นกบฏ ยกเข้ามากวาดต้อน ผู้คนทางภาคอีสาน พระบรมราชา (มั่งเข้าข้างเจ้าอนุวงศ์ อพยพครอบครัวไปอยู่ มหาชัยก่องแก้ว เหลือแต่กรรมการเมือง ผู้น้อยทิ้งไว้เฝ้าเมือง ต่อมาเมื่อพ..2373 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุนทราช วงศา (ปุตเจ้าเมืองยโสธร ซึ่งทำความดีความชอบเมื่อครั้งปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์มารักษา เมืองสกลทวาปี
ตำนานเมืองหนองหาร ครั้งหนึ่งยังมีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อ นครเอกชะทีตา มีพระยาขอมเป็นกษัตริย์ ปกครองเมืองด้วยความร่มเย็น พระยาขอมมีพระธิดาสาวสวยนามว่า "นางไอ่คำซึ่งเป็นที่รักและหวงแหนมาก จึงสร้างปราสาท 7 ชั้น ให้อยู่พร้อมเหล่าสนม นางกำนัล คอยดูแลอย่างดี
ขณะเดียวกันยังมีเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อ เมืองผาโพง มีเจ้าชายนามว่า ท้าวผาแดง เป็นกษัตริย์ ปกครองอยู่ ได้ยิน กิตติศัพท์ความงามของธิดา ไอ่คำมาก่อนแล้ว ใคร่อยากจะเห็นหน้า จึงปลอมตัวเป็นพ่อค้าพเนจรถึงนครเอกชะทีตา และติดสินบนนางสนมกำนัล ให้นำของขวัญลอบ เข้าไป ให้นางไอ่คำ ด้วยผลกรรมที่ผูกพันมาแต่ชาติปางก่อน นางไอ่คำและท้าวผาแดงจึงได้มีใจ ปฏิพัทธ์ต่อกัน จนในที่สุดทั้งสองก็อภิรมย์สมรักกัน
ก่อนท้าวผาแดงจะจากไป เพื่อจัดขบวนขันหมากมาสู่ขอนางไอ่คำ ทั้งสองได้คร่ำครวญต่อกัน ด้วยความอาลัยยิ่ง วันเวลาผ่านไปถึงเดือน เป็นประเพณีแต่โบราณของเมืองเอกชะทีตา จะต้องมีการทำบุญบั้งไฟบูชาพญาแถน พระยาขอมจึงได้ประกาศบอกไปตามหัวเมืองต่างๆ ว่าบุญบั้งไฟปีนี้จะเป็นการหาผู้ที่จะมาเป็นลูกเขยอีกด้วย ขอให้เจ้าชายหัวเมืองต่างๆ จัดทำบั้งไฟ มาจุดแข่งขันกัน ผู้ใดชนะก็จะได้อภิเษก กับพระธิดาไอ่คำด้วย
ข่าวนี้ได้ร่ำลือไปทั่วสารทิศ ทุกเมืองในขอบเขตแว่นแคว้นต่างๆ ก็ส่งบั้งไฟเข้ามาแข่งขัน เช่น เมืองฟ้าแดดสูงยาง เมืองเชียงเหียน เชียงทอง แม้กระทั่งพญานาคใต้เมืองบาดาล ก็ได้ยินร่ำลือจนสิ้น จนท้าวพังคีเจ้าชายพญานาคเมือง บาดาลก็อดใจไม่ไหว ปลอมตัวเป็น กระรอกเผือก มาดูโฉมงามนางไอ่คำ ด้วยในวันงานบุญบั้งไฟ เมื่อถึงวัน แข่งขัน จุดบั้งไฟ ปรากฏว่า บั้งไฟท้าวผาแดงจุดไม่ขึ้นพ่นควันดำอยู่ 3 วัน 3 คืน จึงระเบิดออกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้ความหวังท้าวผาแดงหมดสิ้นลง
ขณะเดียวกัน ท้าวพังคีพญานาคที่ปลอมเป็นกระรอกเผือก มีกระดิ่งผูกคอน่ารักมาไต่เต้น อยู่บนยอดไม้ข้าง ปราสาท นางไอ่คำ ก็ปรากฏร่าง ให้นางไอ่คำเห็น นางจึงคิดอยากได้มาเลี้ยง แต่แล้วก็จับไม่ได้ จึงบอกให้นายพรานยิงเอาตัวตายมา ในที่สุดกระรอกเผือกพังคี ก็ถูกยิง ด้วยลูกดอก จนตาย ก่อนตายท้าวพังคีได้อธิษฐานไว้ว่า "ขอให้เนื้อของข้าได้ แปดพันเกวียน คนทั้งเมืองอย่าได้กินหมดเกลี้ยง"
จากนั้นร่างของกระรอกเผือกก็ใหญ่ขึ้น จนผู้คนแตกตื่นมาดูกันและจัดการแล่เนื้อนั้นแบ่งกัน ไปกินทั่วเมือง ด้วยว่าเป็นอาหารทิพย์ ยกเว้นแต่พวก แม่ม่ายที่ชาวเมืองรังเกียจ ไม่แบ่งเนื้อ กระรอกให้ พญานาคแห่งเมืองบาดาล ทราบข่าว ท้าวพังคีถูกมนุษย์ฆ่าตายแล่เนื้อไปกิน กัน ทั้งเมือง จึงโกรธแค้นยิ่งนัก ดึกสงัดของคืนนั้นเอง ขณะที่ชาวเมือง เอกชะทีตากำลังหลับไหล เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น ท้องฟ้าอื้ออึงไปด้วย พายุฝน ฟ้ากระหน่ำลงมาอย่างหนักอยู่ มิได้ขาด แผ่นดินเริ่มถล่มตัวยุบตัวลงไปทีละน้อย ท่ามกลางเสียงหวีดร้องของผู้คนที่วิ่งหนีตาย เหล่าพญานาคผุด ขึ้นมา นับหมื่นนับแสนตัว ถล่มเมืองชะทีตาจมลบงใต้บาดาลทันที คงเหลือไว้เป็นดอน 3-4 แห่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของพวกแม่ม่าย ที่ไม่ได้กินเนื้อ กระรอกเผือกจึงรอดตาย
ฝ่ายท้าวผาแดงได้โอกาสรีบควบม้าหนีออกจากเมือง โดยไม่ลืมแวะรับพระธิดาไอ่คำไปด้วย แต่แม้จะเร่งฝีเท้าม้าเท่าใดก็หนีไม่พ้นทัพพญานาคที่ ทำให้แผ่นดินถล่มตามมาติดๆ ในที่สุดก็กลืนท้าวผาแดงและพระธิดาไอ่คำ พร้อมม้าแสนรู้ชื่อ "บักสามจมหายไปใต้พื้นดิน
รุ่งเช้าภาพของเมืองเอกชะทีตาที่เคยรุ่งเรืองโอฬาร ก็อันตธานหายไปสิ้น คงเห็นแต่พื้นน้ำ กว้างยาว สุดตา ทุกชีวิตในเมืองเอกชะทีตาจมสู่ใต้บาดาล จนหมดสิ้นเหลือไว้แต่แม่ม่ายบนเกาะร้าง 3-4 แห่ง ในผืนน้ำอันกว้างนี้ ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นหนองหารหลวงดังปรากฏในปัจจุบัน
ประวัตเมืองหนองหารหลวง ประวัติเมืองหนองหารหลวงไม่มีหลักฐาน ปรากฏไว้เป็นลายลักษณ์อักษร นอกจากผู้เฒ่าผู้แก่ ของเมืองได้จดจำถ้อยคำของพระบรรเทา กรมการเมืองขุขันธ์คนเก่ากับเพี้ยศรีคอนชุม ซึ่งเป็นหัวหน้าข้าพระธาตุเชิงชุมว่า หลังจาก พระยาสุวรรณภิงคาระ สิ้นพระชนม์ลง เหล่าเสนา ข้าราชการผู้ใหญ่ชาวเขมร ก็ได้ผลัดเปลี่ยน กันเข้ามาปกครอง เป็นเจ้าเมือง หนองหารหลวง ต่อกันมาเรื่อยๆหลายยุคหลายสมัย
ต่อมาได้เกิดทุกขภัยฝนแล้งมา 7 ปี ราษฎรไม่ได้ทำนา เกิดความอดอยากข้าปลาอาหารไม่มีจะกิน เจ้าเมืองอพยพ ราษฎรอยู่ที่เมืองหนองหาร หลวงไปอยู่ที่เมืองเขมรกันหมด ทิ้งให้เมืองหนองหารหลวงกลายเป็นเมืองร้าง
ต่อมาในรัชกาลที่ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์ พร้อมด้วยครอบครัวมาตั้งรักษา พระธาตุเชิงชุม จนมีผู้คนมากขึ้นแล้วจึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกบ้านธาตุเชิงชุมเป็นเมืองสกลทวาปี โดยตั้งให้ อุปฮาดเมืองกาฬสินธุ์เป็นพระธานี เจ้าเมืองสกลทวาปีคนแรก
ต่อมาปี พ.. 2369 สมัยรัชกาลที่ 3 ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เจ้าเมืองสกลทวาปีไม่ได้เตรียมกำลังป้องกันเมือง เจ้าพระยาบดินทร์ เดชานุชิต(สิงห์ สิงหเสนีเป็นแม่ทัพมาตรวจราชการเห็นว่าเจ้าเมืองกรมการไม่เอาใจใส่ต่อบ้านเมืองปล่อยให้ข้าศึก (ทัพเจ้าอนุวงศ์ล่วงล้ำได้ โดยง่าย จึงสั่งให้นำตัวพระธานีไปประหารชีวิตที่หนองทรายขาว พร้อมกับกวาดต้อนผู้คนในเมืองสกลทวาปีไปอยู่ที่ กบินทร์บุรีบ้าง ประจันตคามบ้าง ให้คงเหลือรักษาพระธาตุเชิงชุม แต่พวกศรีคอนชุม ต.ธาตุเชิงชุม บ้านหนองเหียน บ้านจานเพ็ญ บ้านอ่อมแก้ว บ้านธาตุเจงเวง บ้านพราน บ้านนาคี บ้านวังยางและบ้านพรรณา รวม 10 ตำบล เพื่อให้เป็นข้าปฏิบัติพระธาตุเชิงชุมเท่านั้น
ในสมัยต่อๆมาได้มีราชวงศ์คำแห่งเมืองมหาชัยกองแก้วทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ได้อพยพข้ามแม่น้ำ โขงเข้ามาขอพึ่ง พระบรมโพธิสมภาร ขอสร้างบ้าน แปงเมืองขึ้นใหม่ที่เมืองสกลทวาปี พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ ราชวงศ์คำเป็น พระยาประเทศธานี(คำในตำแหน่งเจ้าเมืองสกลทวาปี และทรงเปลี่ยน นามเมืองใหม่เป็น สกลนคร ตั้งแต่บัดนั้นมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น