เชียงรายเป็นชื่อจังหวัดที่อยู่ทางตอนเหนือที่สุดของประเทศไทย ตั้งศาลากลางที่ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย อาณาเขตทิศเหนือจรดแคว้นเชียงตุง ประเทศพม่า โดยมีทางหลวงแผ่นดินทะลุผ่านถึงกัน ส่วนทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับแม่น้ำโขง ทิศตะวันออกจดทิวเขาหลวงพระบางซึ่งปันเขตแดนไทยกับลาว และติดต่อกับจังหวัดพะเยา ทิศใต้กับจังหวัดพะเยา จังหวัดลำปาง และเชียงใหม่ ส่วนทิศตะวันตกกับจังหวัดเชียงใหม่
จังหวัดเชียงรายเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญเมืองหนึ่งของประเทศไทย และเป็นเมืองเศรษฐกิจสำคัญตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีน
พัฒนาการทางประวัติศาสตร์
ปรากฏในพงศาวดารโยนกว่า พ่อขุนเม็งรายสร้างขึ้น ณ ที่ซึ่งเดิมเป็นเวียงชัยนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 1805 และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงรายจนถึง พ.ศ. 1839 จึงไปสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้นในท้องที่ระหว่างดอยสุเทพกับแม่น้ำปิง และครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงหม่จนถึง พ.ศ. 1860 จึงสวรรคตเพราะถูกฟ้าผ่า
สำหรับเมืองเชียงรายนั้น เมื่อพ่อขุนเม็งรายย้ายไปครองราชสมบัติที่เมืองเชียงใหม่แล้ว พระราชโอรสคือ ขุนคราม หรืออีกชื่อหนึ่งว่าพระไชยสงคราม ก็ได้ครองราชสมบัติสืบต่อมา นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ขึ้นต่อเมืองเชียงใหม่
ครั้นต่อมาเมื่อแคว้นล้านนาไทยตกไปอยู่ในปกครองของพม่า พม่าได้ตั้งขุนนางมอญคือพระยาชิตวงศ์มาปกครองเมืองเชียงราย ซึ่งมอญก็คงครองเมืองเชียงรายสืบต่อ ๆ กันมาจนถึง พ.ศ. 2329 ปีนั้น พระยายองกับพระยาแพร่คิดด้วยกันจะสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพมหานคร จึงจับเอาปะกามณี แม่ทัพที่พม่าตั้งให้ปกครองเมืองเชียงราย เป็นเชลยแล้วนำตัวส่งลงมาถวายยังกรุงเทพมหานคร
ต่อมา พ.ศ. 2330 พม่ายกกองทัพจากแคว้นเชียงตุงลงมา ตีได้เมืองเชียงแสนและเมืองเชียงราย ทัพเมืองฝางจึงเข้าสมทบทัพพม่า และทัพพม่านี้เดินทางผ่านเมืองพะเยาลงมาเอาเมืองนครลำปาง แต่ถูกไทยตีแตกพ่ายกลับไป นับแต่นั้นเมืองเชียงรายก็ร้างไปถึง พ.ศ. 2386 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ตั้งเมืองเชียงรายขึ้นเป็นเมืองโดยให้สังกัดเมืองเชียงใหม่ กระทั่ง พ.ศ. 2453 จึงมีพระราชบัญญัติยกเมืองเชียงรายขึ้นเป็นจังหวัด
สภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ
จังหวัดเชียงรายมีภูมิประเทศเป็นป่าไม้และเทือกเขาสูง ทำให้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมจากทะเลน้อยมาก และยังผลให้ฤดูร้อนกับฤดูหนาวมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก คือ ประมาณเดือนธันวาคมของทุกปีอุณหภูมิจะต่ำมาก เฉลี่ยประมาณ 8.7 องศาเซลเซียส และในเดือนเมษายนจะมีอุณหภูมิค่อนข้างสูง โดยใน พ.ศ. 2541 เป็นปีที่มีอุหภูมิสูงที่สุดของจังหวัดเชียงราย คือ 36.4 องศาเซลเซียส
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 124 ตำบล 1,510 หมู่บ้าน
อำเภอเมืองเชียงราย
อำเภอเวียงชัย
อำเภอเชียงของ
อำเภอเทิง
อำเภอพาน
อำเภอป่าแดด
อำเภอแม่จัน
อำเภอเชียงแสน
อำเภอแม่สาย
|
อำเภอแม่สรวย
อำเภอเวียงป่าเป้า
อำเภอพญาเม็งราย
อำเภอเวียงแก่น
อำเภอขุนตาล
อำเภอแม่ฟ้าหลวง
อำเภอแม่ลาว
อำเภอเวียงเชียงรุ้ง
อำเภอดอยหลวง
|
การคมนาคม
การคมนาคมจากกรุงเทพมหานครไปยังจังหวัดเชียงราย กระทำได้โดยการโดยสารรถไฟสายเหนือลงที่สถานีลำปางเป็นระยะทางหกร้อยสี่สิบสองกิโลเมตร แล้วเดินทางต่อไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ถึงตัวเมืองเป็นระยะทางอีกสองร้อยสามสิบสี่กิโลเมตร รวมเป็นแปดร้อยเจ็ดสิบหกกิโลเมตร หรือจะโดยสารรถทั่วไปจากกรุงเทพมหานครตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถึงตัวเมืองเป็นระยะทางเก้าร้อยสี่สิบสามกิโลเมตร
จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย ห่างจากกรุงเทพฯ 785 ก.ม. มีเนื้อที่ประมาณ 11,678.369 ตร.ก.ม. หรือประมาณ 7,298,981 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และประเทศสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดลำปาง และจังหวัดพะเยา ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจังหวัดพะเยา ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสหภาพพม่า และจังหวัดเชียงใหม่
|
|
ตราประจำจังหวัด
| |
แผนที่จังหวัดเชียงราย
|
|
ประวัติเมืองเชียงราย
|
เมื่อพญามังรายได้ทรงรวบรวมหัวเมืองฝ่ายเหนือในอาณาเขตรอบ ๆ ได้แล้ว จึงทรงกรีฑาทัพไปแสดงฝีมือในการยุทธต่อหัวเมืองฝ่ายใต้ลงมา จึงได้ไปรวมพล ณ เมืองลาวกู่เต้า และหมอควาญได้นำช้างมงคลของพญามังรายไปทอด (ผูก) ไว้ในป่าหัวดอยทิศตะวันออกพลัดหายไป พญามังราย จึงได้เสด็จติดตามรอยช้างไปจนถึงดอยทองริมแม่น้ำกกนัทธี ได้ทัศนาการเห็นภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่ม อุดมสมบูรณ์เป็นชัยภูมิที่ดี จึงได้สร้างเมืองใหม่ ขึ้นในที่นั่น ให้ก่อปราการโอบเอาดอยจอมทองไว้ในท่ามกลางเมือง ขนานนามเมืองว่า “เวียงเชียงราย” ตามพระนามของพญามังรายผู้สร้าง เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 1805 ดังนั้น จึงได้นำรูปช้างสีขาวใต้เมฆแห่งความรุ่งเรือง และอยู่เย็นเป็นสุข บนพื้นสีม่วงของ วันเสาร์ซึ่งตรงกับวันประสูติของพญาเม็งราย เป็นสีประจำจังหวัด
คำขวัญของจังหวัดเชียงราย
“เหนือสุดในสยาม ชายแดนสามแผ่นดิน ถิ่นวัฒนธรรมล้านนา ล้ำค่าพระธาตุดอยตุง”
|
ธงประจำจังหวัดเชียงราย
|
วิสัยทัศน์การพัฒนาจังหวัดเชียงราย (Vision)
“เชียงราย : ประตูทองของวัฒนธรรมล้านนา และการค้าสู่สากล” Chiangrai : Global Golden Gateway of Lanna Culture and International Trade
ดอกไม้ประจำจังหวัดเชียงราย
ชื่อดอกไม้ ดอกพวงแสด ชื่อ วิทยาศาสตร์ : Pyrostegia Venusta (ker) Miersวงศ์ : Bignonia Ceaeลักษณะชนิดพันธุ์ไม้ : ไม้เลื้อยต่างประเทศ ชื่ออื่น ๆ : Orange trumpet, Flane Flower,
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น