คือ สิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับทำเสียงให้เป็นทำนอง หรือจังหวะ วิธีที่ทำให้มีเสียงดังขึ้นนั้นมี อยู่ ๔ วิธี คือ
- ใช้มือหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งดีดที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายสำหรับดีด เรียกว่า "เครื่องดีด"
- ใช้เส้นหางม้าหลายๆ เส้นรวมกันสีไปมาที่สาย แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่มีสายแล้วใช้เส้นหางม้าสีให้เกิด เสียงเรียกว่า "เครื่องสี"
- ใช้มือหรือไม้ตีที่สิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่ใช้ไม้หรือมือตี เรียกว่า "เครื่องตี"
- ใช้ปากเป่าลมเข้าไปในสิ่งนั้น แล้วเกิดเสียงดังขึ้น สิ่งที่เป่าลมเข้าไปแล้วเกิดเสียงเรียกว่า "เครื่องป่า"
เครื่องดีด เครื่องดีดทุกอย่างจะต้องมีส่วนที่เป็นกระพุ้งเสียง บางทีก็เรียกว่า กะโหลก สำหรับทำให้ เสียงที่ดีดนั้นก้องวานดังขึ้นอีก เครื่องดีดของไทยที่ใช้ในวงดนตรีแต่โบราณเรียกว่า "พิณ" ซึ่งมาจากภาษาของชาวอินเดียที่ว่า "วีณา" ในสมัยหลังๆ ต่อมาจึงบัญญัติชื่อเป็นอย่างอื่น ตามรูปร่างบ้าง ตามภาษาของชาติใกล้เคียงบ้าง เช่น"กระจับปี่" ซึ่งมีกระพุ้งเสียงรูปแบน ด้านหน้าและด้านหลัง กลมรี คล้ายรูปไข่ มีคันต่อยาวเรียวขึ้นไป ตอนปลายบานและงอนโค้งไปข้างหลังเรียกว่า ทวน มี สายทำด้วยเอ็นหรือไหม ๔ สาย ขึงผ่านหน้ากะโหลกตามคันขึ้นไปจนถึงลูกบิด ๔ อัน ผูกปลาย สายอันละสาย มีนมติดตามคันทวนสำหรับกดสายลงไปติดสันนม ให้เกิดเสียงสูงต่ำตามประสงค์ ผู้ดีดต้องนั่งพับเพียบทางขวา วางตัวกระจับปี่ (กะโหลก) ลงตรงหน้าขาขวา กดนิ้วตามสายด้วยมือ ซ้าย ดีดด้วยมือขวา รูปกระจับปี่ (หรือพิณ) ของไทยมีลักษณะดังในภาพ
พิณ
| ||||||||||||||||||
เครื่องดีดของไทยที่ใช้กันอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบันก็คือ "จะเข้" จะเข้เป็นเครื่องดีดที่วางนอนตามพื้นราบ ทำด้วยไม้ท่อนขุดเป็นโพรงภายใน ไม้แก่นขนุนเป็นดีที่สุด ด้านล่างมีกระดานแปะเป็นพื้นท้อง เจาะรูระบายอากาศพอสมควร มีเท้าตอนหัว ๔ เท้า ตอนท้าย ๑ เท้า รวม เป็น ๕ เท้า มีสาย ๓ สาย สายเอก (เสียงสูง) กับสายกลางทำด้วยเอ็นหรือไหม สายต่ำสุด ทำด้วย ลวดทองเหลืองเรียกว่า สายลวด ขึงจากหลักตอนหัวผ่านโต๊ะและนม ไปลอดหย่อง แล้วพันกับ ลูกบิดสายละลูก มีนมตั้งเรียงลำดับบนหลัง ๑๑ นม สำหรับกดสายให้แตะเป็นเสียงสูงต่ำตามต้องการ การดีดต้องใช้ไม้ดีดทำด้วยงาช้างหรือกระดูกสัตว์ เหลากลม เรียวแหลม ผูกพันติดกับนิ้วชี้ มือขวา ดีดปัดสายไปมา ส่วนมือซ้ายใช้นิ้วกดสายตรงสันนมต่างๆ ตามต้องการ เครื่องสี เครื่องดนตรีที่ต้องใช้เส้นหางม้าหลายๆ เส้นรวมกัน สีไปบนสายซึ่งทำด้วยไหมหรือเอ็นนี้ โดยมากเรียกว่า "ซอ" ทั้งนั้น ซอของไทยที่มีมาแต่โบราณก็คือ "ซอสามสาย" ใช้บรรเลงประกอบ ในพระราชพีธีสมโภชต่างๆ ซอสามสายนี้ กะโหลกสำหรับอุ้มเสียง ทำด้วยกะลามะพร้าวตัดขวางให้เหลือพูทั้งสามอยู่ด้านหลัง ขึงหน้าด้วยหนังแพะหรือหนังลูกวัว มีคัน (ทวน) ตั้งต่อจากกะโหลก ขึ้นไปยาวประมาณ ๑.๒๐ เมตร ทำด้วยงาช้างหรือไม้แก่น กลึงตอนปลายให้สวยงาม มีลูกบิดสอด ขวางคันทวน ๓ อัน สำหรับพันปลายสาย เร่งให้ตึง หรือหย่อนตามต้องการ มีทวนล่างต่อลงไป จากกะโหลก กลึงให้เรียวเล็กลงไปจนแหลม เลี่ยมโลหะตอนปลาย เพื่อให้แข็งแรงสำหรับปักลงกับ พื้น สายทั้งสามนั้นทำด้วยไหมหรือเอ็น ขึงจากทวนล่างผ่านหน้าซอซึ่งมีหย่องรองรับขึ้นไปตามทวน และร้อยเข้าในรู ไปพันลูกบิดสายละอัน ส่วนคันชักหรือคันสีนั้น ทำคล้ายคันกระสุน ขึงด้วยเส้น หางม้าหลายๆ เส้น สีไปมาบนสายทั้งสามตามต้องการ สิ่งสำคัญของซอสามสายอย่างหนึ่ง คือ "ถ่วงหน้า" ถ่วงหน้านี้ ทำด้วยโลหะประดิษฐ์ให้สวยงาม บางทีถึงแก่ฝังเพชรพลอยก็มี แต่จะต้องมีน้ำหนักได้ส่วนสัมพันธ์กับหน้าซอ สำหรับติดตรงหน้าซอตอนบนด้านซ้าย ถ้าไม่มีถ่วงหน้าแล้ว เสียงจะดังอู้อี้ไม่ไพเราะ ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มี ๒ สายเรียกว่า สายเอก และสายทุ้ม ตัวกระพุ้งอุ้มเสียงเรียกว่า กระบอก เพราะมีรูปอย่างกระบอกไม้ไผ่ ทำด้วยไม้เนื้อแข็งหรืองาช้าง ขึงหน้าด้วยหนังงูเหลือม ถ้าไม่มีก็ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัว มีทวน (คัน) เสียบกระบอกยาวขึ้นไป ตอนปลายเป็นสี่เหลี่ยม โอนไปทางหลัง มีลูกบิดสำหรับพันปลายสาย ๒ อัน เนื่องจากซอด้วงเป็นซอเสียงเล็กแหลม จึง ใช้สายที่ทำด้วยไหมหรือเอ็นเป็นเส้นเล็กๆ ส่วนคันชักนั้น ร้อยเส้นหางม้าให้เข้าอยู่ในระหว่างสาย ทั้งสอง การเรียกสายของเครื่องดนตรี ทั้งเครื่องดีด และเครื่องสีว่า "เอก" และ "ทุ้ม" นี้ เรียกตามลักษณะของเสียง สายที่มีเสียงสูงก็เรียกว่า สายเอก สายที่มีเสียงต่ำก็เรียกว่า สายทุ้ม ตลอดจน เครื่องตีที่จะกล่าวต่อไปนี้ก็อนุโลมเช่นเดียวกัน เครื่องที่มีเสียงสูงก็เรียกว่า เอก เครื่องที่มีเสียงต่ำ ก็เรียกว่า ทุ้ม เครื่องตี
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น